ดวงตาคือหน้าต่างของหัวใจ!!! มาทำความรู้จักอาการ “Computer Vision Syndrome” (CVS) หรือ “โรคซีวีเอส” โรคใหม่ของคนติดจอ เกิดกับอวัยวะที่มีความสำคัญ คือดวงตา พบมากในคนวัยทำงาน วัยเรียน และอาชีพที่ทำงานกับอุปกรณ์ดิจิตอล การใช้สายตาจ้องมองจอคอมพิวเตอร์ จอสมาร์ทโฟน จอแท็บเล็ต เป็นเวลานานติดต่อกัน ต้องระวังดวงตามีปัญหา!!!
ผู้ที่มีสภาวะความเสี่ยง
- จ้องมองแสงสีฟ้าจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นระยะเวลานานๆ
- แสงสว่างของหน้าจอน้อยเกินไป
- แสงสะท้อนจะทำให้ดวงตาเมื่อยล้า
- ระยะห่างระหว่างหน้าจอกับสายตา มองไม่สบาย หรืออาจมีระดับต่ำกว่าสายตา
- มองจอนานเกินกว่า 2 หรือ 3 ชั่วโมง
- ทำงานเพลิดเพลินไม่ค่อยกระพริบตา
- ท่านั่งทำงานไม่เหมาะสมหรือไม่ถูกลักษณะ
- มุมในการทำงานอับแสง แสงสว่างไม่พอ
- ปัญหาทางสายตาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข เช่น สายตาสั้น สายตาเอียง ไม่ใส่แว่นสายตา หรือ ไม่ใส่คอนแทคเลนส์ใน
- การทำงาน
ลักษณะของอาการที่พบมากที่สุด
- ปวดตา (eye strain) และปวดรอบๆบริเวณกระบอกตา
- แสบตา
- ตามัว
- ตาแห้ง ระคายเคืองที่ตา (dry and irritated eyes)
- ความรู้สึกเหมือนมีเม็ดทรายในลูกตา
- มองเห็นภาพมัว (blurred vision)
- เกิดภาพซ้อน
- แพ้แสงจ้าๆ ที่สะท้อนมากระทบตา (light sensitivity)
- ปวดศีรษะ (headaches)
- ปวดหลัง
- ปวดต้นคอ
- เวลาเอียงคอ จะรู้สึกกล้ามเนื้อส่วนหลังและต้นคอเกร็งกล้ามเนื้อ เจ็บหรือปวดแปลบๆ
วิธีการดูแลสายตา ป้องกันอาการ Computer Vision Syndrome
หากในแต่ละวัน ต้องใช้สายตาทำงานหน้าจอนานๆ สามารถดูแลดวงตาและหลีกเลี่ยงการกระทำที่เป็นอันตรายต่อการมองเห็น
- พักสายตาจากหน้าจอทุกๆ 2 – 3 นาที แล้วค่อยเริ่มลืมตาทำงานใหม่
- มองออกไปไกลๆ เพ่งสายตามองวัตถุสีเขียว ช่วยให้กล้ามเนื้อตารู้สึกผ่อนคลาย
- กระพริบตาบ่อยๆ คืนความชุ่มชื้นให้ดวงตา
- ปรับแสงสว่างหน้าจอไม่ให้แสงมืดและแสงจ้าเกินไป
- เว้นระยะห่างจากจอคอมพิวเตอร์และดวงตา 40 – 50 ซม.
- ใช้แผ่นกรองแสงติดที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ช่วยลดแสงสะท้อนและแสงจ้า
- บริเวณจุดกึ่งกลางของหน้าจอคอมพิวเตอร์ปรับให้อยู่ต่ำกว่าระดับสายตา
- ใช้แว่นตาช่วยกรองหน้าจอ ช่วยลดแสงเข้าสู่ดวงตาได้มาก ทำให้รู้สึกสบายขึ้น
- ปรับขนาดของตัวอักษร พื้นหลัง และสีของตัวอักษร ให้มีเหมาะสมกับการทำงาน
- ถ้ารู้สึกตาแห้ง หรือเริ่มระคายเคือง ควรใช้น้ำตาเทียมมาหยอดตา ทำให้สามารถบรรเทาอาการแสบตาและปวดตาได้
- คำแนะนำจากจักษุแพทย์การผ่อนคลายกล้ามเนื้อตา ให้ปฏิบัติตามกฎ “20 20 20” พักสายตาหลังนั่งทำงานติดต่อกัน 20 นาที ให้พัก 20 วินาที และ มองโฟกัสในระยะไกลๆ 20 ฟุต หรืออาจหลับตา
- เมื่อรู้สึกดวงตามีอาการไม่พึงประสงค์ ให้รีบพบจักษุแพทย์ เพื่อตรวจวัดสายตา
การปล่อยอาการให้ระยะเวลาเนินนานเกินไป อาจส่งผลกระทบต่ออวัยวะภายในดวงตามากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ควรได้รับการดูแลรักษาและคำแนะนำอย่างถูกวิธีจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อป้องกันปัญหาความรุนแรงที่อาจจะมีผลกระทบต่อการมองเห็นและดวงตาทั้ง 2 ข้างของเรานั้นเอง